|
|
|
|
|
งานทอฝ้ายเป็นสายบุญ จุลกฐิน ประจำปี 2555 วัดไชยมงคล ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด องค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาชน จัดงานบุญประเพณีสืบสานวัฒนธรรมทอฝ้าย เป็นสายบุญจุลกฐินเฉลิมฉลอง 2600 ปีพุทธชยันตี โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันศุกร์ที่ 23 ถึงวันเสาร์ที่ 24 เดือนพฤศจิกายน 2555
|
|
|
พิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรม พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ปี 2555 เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญต่อชาวอุบลฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวันที่ชาวอุบลฯ ร่วมใจกันจัดงาน น้อมสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยถือเอาวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรม เป็นวันจัดงานรำลึก มีการจัดกิจกรรมและพิธีการต่างๆ มากมาย
|
|
|
ฮีตสิบสอง นครอุบล คำว่า “ฮีต” เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึงจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งฮีตนี้จะต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่ประชาชนธรรมดาจนถึงเจ้านายใหญ่โต เมื่อถึงคราววาระและเดือนที่จะต้องประกอบพิธีกรรมตามฮีตแต่ละแห่ง แต่ละชุมชนจะ ต้องปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งมีทั้งหมด 12 ฮีตด้วยกัน
|
|
|
|
วันรำลึกหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา หมอมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา เป็นใคร สำคัญอย่าง เราจึงมีอาคารของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นชื่อ "อาคารหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" ชาวอุบลฯ กลุ่มหนึ่งริเริ่มจัดงานวันรำลึกหม่อมเจียงคำขึ้น ทุกวันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี
|
|
|
เทศกาลกินเจ การกินเจ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของคนจีน จะเริ่มเทศกาลกินเจในวันที่ 1 - 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน หรือช่วงกลางเดือนตุลาคม เชิญชวนทุกท่านร่วมกินเจ และทำบุญในเทศกาลกินเจครับ
|
|
|
ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์นั้น จำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายอุบลฯ เท่านั้น เมื่อท่านเหล่านี้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ให้เชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนกสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็กุศลที่ทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา 3 วัน จึงเผาศพ
|
|
|
งานบุญมหากฐิน ถิ่นนักปราชญ์ จังหวัดอุบลราชธานี งานบุญมหากฐินถิ่นนักปราชญ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดขึ้น ตั้งแต่ปี 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกองกฐินไปทอดยังวัดที่ไม่มีผู้จองกฐิน ทำให้เกิดการตื่นตัว พุทธศาสนิกชนให้ความสนใจการทอดกฐินกันมากขึ้น
|
|
|
งานกาชาดและงานปีใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันจัดงานกาชาดและงานปีใหม่ ขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากจะมีการออกร้านกาชาด การแสดงนิทรรศการต่างๆ มหกรรมคอนเสิร์ตแล้ว ยังมีการประกวดนางสาวอุบลราชธานีอีกด้วย
|
|
|
งานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อย ชมรมผู้ประกอบการอาหาร 2001 อุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อย ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 นี้ เพื่อแสดงถึงประเพณีการกินอยู่ ภูมิปัญญาการจัดเตรียมสำรับคาวหวานของชาวอุบล
|
|
|
งานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ชาวอุบลฯ จะพร้อมใจกันจัดงานเพื่อรำลึกถึงผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยยึดเอาวันสิ้นชีพพิตักสัยของเจ้าคำผง เป็นวันประกอบพิธี เพื่อสดุดีวีรกรรมของท่าน และประกอบพิธีบวงสรวง สักการะ
|
|
|
ประเพณีลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง แม้ว่าชาวอีสานจะมีงานลอยกระทงไปแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นประเพณีทุกปี แต่พอถึงวันลอยกระทงใหญ่ ซึ่งทั่วประเทศจะจัดกันในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวอีสานโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ก็ได้ลอยกระทงกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการลอนกระทงตามสมัยนิยม
|
|
|
งานเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ณ บริเวณสนามกีพาทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนรถบุปผาชาติ การประกวดและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ
|
|
|
เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ เมืองอุบล จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (กลางเดือนเมษายน) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ พิธีสรงน้ำพระแก้วบุษราคัม ขบวนแห่พระแก้วบุษราคัม การออกร้านสาธิตและจำหน่ายอาหาร 4 ชาติในอินโดจีน คือ ไทย ลาว กัมพูซา และเวียดนาม
|
|
|
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การเที่ยวชมศิลปะการตกแต่งเทียนตามวัดต่างๆ การจัดแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมืองในยามค่ำคืน และการเคลื่อนขบวนแห่เทียนพรรษาในวันรุ่งขึ้น
|
|
|
งานประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ) ประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ) จัดขึ้นในช่วงออกพรรษาขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) มีพิธีอัญเชิญเจ้าเมืองและสิ่งศักดิ์ลงในเรือ การแข่งเรือตามลำน้ำโขง เพื่อบวงสรวงสักการะแม่น้ำโขง รุกขเทวดา พญานาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปัจจุบันเน้นการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก
|
|
|
งานประเพณีไหลเรือไฟ จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา (ประมาณเดือนตุลาคม) ณ แม่น้ำมูลบริเวณ เชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ และประชาชนทั่วไป ที่อนุรักษ์รูปแบบประเพณีไหลเรือไฟพื้นบ้านอีสานดั้งเดิมไว้
|
|
|
ทำบุญออกพรรษา บุญออกพรรษา จัดทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโว ในวันนี้พระสงฆ์จะรวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ กลางคืนบางแห่งจะมีการจุดประทีปโคมไฟตามรั้วหรือกำแพงรอบวัด และตามหน้าบ้านของชาวบ้าน บางแห่งก็นิยมจุดไต้ประทีปและจุดประทัดกันด้วย
|
|
|
ทำบุญข้าวสาก บุญข้าวสาก นิยมทำกันในวันขึ้นสิบค่ำเดือนสิบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่างานบุญเดือนสิบ เรียกข้าวสากนั้น มาจากคำว่า "สลาก" เพราะเวลาถวายพระสงฆ์ไม่เจาะจงว่า ถวายรูปใด จึงจัดทำเป็นสลากชื่อเจ้าภาพ จับได้ของใครก็นำไปถวายตามนั้น
|
|
|
ทำบุญข้าวประดับดิน บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย
|
|
|
ทำบุญคูณลาน หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็จัดทำลานข้าวสำหรับนวดข้าว นำขาวที่เกี่ยวมาวางเรียงไว้เพื่อเตรียมนวด การกองข้าวให้สูงขึ้นนี้แหละ เรียกว่า คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลก็จัดทำบุญเลี้ยงพระที่ลานข้าว เพื่อเฉลิมฉลองเอาโชคชัยความอุดมสมบูรณ์ของไร่นา
|
|
|
การทำบุญบั้งไฟ ทำบุญบังไฟ คือบุญเดือนหก ทำขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์ มเหศักดิ์หลักเมือง ถือเป็นประเพณีขอฝน ที่ได้ทำมาตั้งแต่บรรพกาล คำว่า บั้งไฟ หมายถึง กระบอกไม้ไผ่ที่นำมาบรรจุดินประสิว ผสมกับถ่านไฟ บดให้ละเอียดแล้วอัดลงในกระบอกไม้ไผ่
|
|
|
การกินดอง การกินดอง หมายถึง งานพิธีมงคลสมรส ซึ่งหมายความในลักษณะผูกพันเกี่ยวดอง ฝ่ายหญิงฝ่ายชายจะได้มาอยู่ร่วมกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน โดยถือเสมือนเครือญาติ บิดามารดาทางฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายจะเป็นดองซึ่งกันและกันเรียกว่า พ่อดอง แม่ดอง
|
|
|
ครองสิบสี่ ครองสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือระหว่างคนธรรมดาปฏิบัติต่อกัน ได้แก่
|
|
|
ฮีตสิบสอง ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่จะต้องปฏิบัติทั้ง 12 เดือน ในแต่ละปี "ฮีต" มาจากคำว่า จารีต ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืน มีความผิดเรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ฮีตสิบสอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ่านทั้งหมด >>> |