Head Inside
Home Page GuideUbon
    You Tube    Facebook    Twitter    On Mobile
Menu Home
 

 

䡴غ
งานประเพณี

          ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ยิ้มง่าย และด้านขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ นั้น ก็ยังมีลัทธิพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่บ้าง เช่น หากมีงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน แม้การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็ยังมีพิธีทางพราหมณ์เข้ามาผสมโดยทั่วไป


บุญเดือนสิบ หรือ บุญข้าวสาก

บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน

เชิญร่วมพิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2556
จังหวัดอุบล ได้ถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปีเป็นวันบวงสรวงศาลหลักเมือง ซึ่งในปีนี้ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2556 ขอเชิญชาวอุบลฯ ร่วมพิธีทางพุทธศาสนา และพิธีพราหมณ์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น.

ความเป็นมาของบุญจุลกฐิน

งานทอฝ้ายเป็นสายบุญ จุลกฐิน ประจำปี 2555
วัดไชยมงคล ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด องค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาชน จัดงานบุญประเพณีสืบสานวัฒนธรรมทอฝ้าย เป็นสายบุญจุลกฐินเฉลิมฉลอง 2600 ปีพุทธชยันตี โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันศุกร์ที่ 23 ถึงวันเสาร์ที่ 24 เดือนพฤศจิกายน 2555

พิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรม พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ปี 2555
เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญต่อชาวอุบลฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวันที่ชาวอุบลฯ ร่วมใจกันจัดงาน น้อมสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยถือเอาวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรม เป็นวันจัดงานรำลึก มีการจัดกิจกรรมและพิธีการต่างๆ มากมาย 

ฮีตสิบสอง นครอุบล
คำว่า “ฮีต” เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึงจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งฮีตนี้จะต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่ประชาชนธรรมดาจนถึงเจ้านายใหญ่โต เมื่อถึงคราววาระและเดือนที่จะต้องประกอบพิธีกรรมตามฮีตแต่ละแห่ง แต่ละชุมชนจะ ต้องปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งมีทั้งหมด 12 ฮีตด้วยกัน 

เชิดชูความดี สดุดีวีรกรรมเจ้าคำผง 2554

วันรำลึกหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
หมอมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา เป็นใคร สำคัญอย่าง เราจึงมีอาคารของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นชื่อ "อาคารหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ  อยุธยา" ชาวอุบลฯ กลุ่มหนึ่งริเริ่มจัดงานวันรำลึกหม่อมเจียงคำขึ้น ทุกวันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี

เทศกาลกินเจ
การกินเจ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของคนจีน จะเริ่มเทศกาลกินเจในวันที่ 1 - 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน หรือช่วงกลางเดือนตุลาคม เชิญชวนทุกท่านร่วมกินเจ และทำบุญในเทศกาลกินเจครับ

ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์
การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์นั้น จำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายอุบลฯ เท่านั้น เมื่อท่านเหล่านี้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ให้เชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนกสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็กุศลที่ทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา 3 วัน จึงเผาศพ

งานบุญมหากฐิน ถิ่นนักปราชญ์ จังหวัดอุบลราชธานี
งานบุญมหากฐินถิ่นนักปราชญ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดขึ้น ตั้งแต่ปี 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกองกฐินไปทอดยังวัดที่ไม่มีผู้จองกฐิน ทำให้เกิดการตื่นตัว พุทธศาสนิกชนให้ความสนใจการทอดกฐินกันมากขึ้น

งานกาชาดและงานปีใหม่
จังหวัดอุบลราชธานี เหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันจัดงานกาชาดและงานปีใหม่ ขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากจะมีการออกร้านกาชาด การแสดงนิทรรศการต่างๆ มหกรรมคอนเสิร์ตแล้ว ยังมีการประกวดนางสาวอุบลราชธานีอีกด้วย

งานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อย
ชมรมผู้ประกอบการอาหาร 2001 อุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อย ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 นี้ เพื่อแสดงถึงประเพณีการกินอยู่ ภูมิปัญญาการจัดเตรียมสำรับคาวหวานของชาวอุบล

งานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ชาวอุบลฯ จะพร้อมใจกันจัดงานเพื่อรำลึกถึงผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยยึดเอาวันสิ้นชีพพิตักสัยของเจ้าคำผง เป็นวันประกอบพิธี เพื่อสดุดีวีรกรรมของท่าน และประกอบพิธีบวงสรวง สักการะ

ประเพณีลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง
แม้ว่าชาวอีสานจะมีงานลอยกระทงไปแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นประเพณีทุกปี  แต่พอถึงวันลอยกระทงใหญ่ ซึ่งทั่วประเทศจะจัดกันในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวอีสานโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ก็ได้ลอยกระทงกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการลอนกระทงตามสมัยนิยม

งานเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ
จัดขึ้นในช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ณ บริเวณสนามกีพาทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนรถบุปผาชาติ การประกวดและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ

เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ เมืองอุบล
จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (กลางเดือนเมษายน) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ พิธีสรงน้ำพระแก้วบุษราคัม ขบวนแห่พระแก้วบุษราคัม การออกร้านสาธิตและจำหน่ายอาหาร 4 ชาติในอินโดจีน คือ ไทย ลาว กัมพูซา และเวียดนาม 

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
จัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การเที่ยวชมศิลปะการตกแต่งเทียนตามวัดต่างๆ การจัดแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมืองในยามค่ำคืน และการเคลื่อนขบวนแห่เทียนพรรษาในวันรุ่งขึ้น 

งานประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ)
ประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ) จัดขึ้นในช่วงออกพรรษาขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) มีพิธีอัญเชิญเจ้าเมืองและสิ่งศักดิ์ลงในเรือ การแข่งเรือตามลำน้ำโขง เพื่อบวงสรวงสักการะแม่น้ำโขง รุกขเทวดา พญานาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปัจจุบันเน้นการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก

งานประเพณีไหลเรือไฟ
จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา (ประมาณเดือนตุลาคม) ณ แม่น้ำมูลบริเวณ เชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ และประชาชนทั่วไป ที่อนุรักษ์รูปแบบประเพณีไหลเรือไฟพื้นบ้านอีสานดั้งเดิมไว้

ทำบุญออกพรรษา
บุญออกพรรษา จัดทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโว ในวันนี้พระสงฆ์จะรวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ กลางคืนบางแห่งจะมีการจุดประทีปโคมไฟตามรั้วหรือกำแพงรอบวัด และตามหน้าบ้านของชาวบ้าน บางแห่งก็นิยมจุดไต้ประทีปและจุดประทัดกันด้วย 

ทำบุญข้าวสาก
บุญข้าวสาก นิยมทำกันในวันขึ้นสิบค่ำเดือนสิบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่างานบุญเดือนสิบ เรียกข้าวสากนั้น มาจากคำว่า "สลาก" เพราะเวลาถวายพระสงฆ์ไม่เจาะจงว่า ถวายรูปใด จึงจัดทำเป็นสลากชื่อเจ้าภาพ จับได้ของใครก็นำไปถวายตามนั้น

ทำบุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย

ทำบุญคูณลาน
หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็จัดทำลานข้าวสำหรับนวดข้าว นำขาวที่เกี่ยวมาวางเรียงไว้เพื่อเตรียมนวด การกองข้าวให้สูงขึ้นนี้แหละ เรียกว่า คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลก็จัดทำบุญเลี้ยงพระที่ลานข้าว เพื่อเฉลิมฉลองเอาโชคชัยความอุดมสมบูรณ์ของไร่นา

การทำบุญบั้งไฟ
ทำบุญบังไฟ คือบุญเดือนหก ทำขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์ มเหศักดิ์หลักเมือง ถือเป็นประเพณีขอฝน ที่ได้ทำมาตั้งแต่บรรพกาล คำว่า บั้งไฟ หมายถึง กระบอกไม้ไผ่ที่นำมาบรรจุดินประสิว ผสมกับถ่านไฟ บดให้ละเอียดแล้วอัดลงในกระบอกไม้ไผ่

การกินดอง
การกินดอง หมายถึง งานพิธีมงคลสมรส ซึ่งหมายความในลักษณะผูกพันเกี่ยวดอง ฝ่ายหญิงฝ่ายชายจะได้มาอยู่ร่วมกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน โดยถือเสมือนเครือญาติ บิดามารดาทางฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายจะเป็นดองซึ่งกันและกันเรียกว่า พ่อดอง แม่ดอง 

ครองสิบสี่
ครองสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือระหว่างคนธรรมดาปฏิบัติต่อกัน ได้แก่ 

ฮีตสิบสอง
ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่จะต้องปฏิบัติทั้ง 12 เดือน ในแต่ละปี "ฮีต" มาจากคำว่า จารีต ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืน มีความผิดเรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ฮีตสิบสอง 

อ่านทั้งหมด >>>

 

Footer
copyright 2005 www.GuideUbon.com
สนง.ไกด์อุบล 89/1 ถ.พโลรังฤทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
contact us : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511