Head Inside
Home Page GuideUbon
    You Tube    Facebook    Twitter    On Mobile
Menu Home
 

 

䡴غ
อุบลวันนี้
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์


          จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 16,112 ตารางกิโลเมตร หรือ 10 ล้านไร่ ที่ตั้งสัมพันธ์ของจังหวัด ติดต่อกับ 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ กัมพูชาประชาธิปไตย ส่วนภายในประเทศ ติดต่อกับ 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร

          จังหวัดอุบลราชธานี มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือรวงผึ้ง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนตื้น ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล มีเทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนธรรมชาติทางด้านทิศใต้

          ลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำโขง ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมน้อยและลำโดมใหญ่

          ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านช่วงฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านช่วงฤดูหนาว และพายุดีเปรสชั่นเข้ามามีอิทธิพลช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน


ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งใน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 14 องศา 13 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 6 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 104 องศา 23 ลิปดาตะวันออก ถึง 105 องศา 38 ลิปดาตะวันออก พื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่ราบสูง พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านตะวันตกและทางใต้เป็นที่ราบสูงเป็นส่วนใหญ่ และลาดเอียงสูงพื้นที่ราบต่ำทางด้านตะวันออก มีพื้นที่ป่าและเทือกเขาสลับซับซ้อนอยู่ทางด้านตะวันออกและด้านใต้ พื้นที่ส่วนรวมสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) สภาพภูมิประเทศดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็น 5 บริเวณ ดังนี้ 

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดอุบลราขธานี จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามระบบการจำแนกภูมิอากาศของคอปเปน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,634 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดประมาณ 83 เปอร์เซนต์ในเดือนกันยายน สำหรับเดือนมีนาคม มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดประมาณ 61 เปอร์เซนต์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี 73 เปอร์เซนต์ ปริมาณการระเหยของน้ำเฉลี่ยรายปีมากกว่า 2,100 มิลลิเมตร 

ลำน้ำสายสำคัญ
ลำน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่จะไหลมาจากที่สูงทางทิศเหนือ ซึ่งหมายถึงเทือกเขาภูพาน ทางทิศใต้เทือกเขาพนมดงรัก และทางทิศตะวันตก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ไหลลงมารวมกันที่แอ่ง อันเป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูล ชี่งก็เปรียบเสมือนทางระบายน้ำขนาดใหญ่ ที่รองรับน้ำอยู่กลางพื้นที่ ก่อนที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป 

เทือกเขาที่สำคัญ
เทือกเขาดงรัก ต้นกำเนิดที่ช่องตะโก อยู่ระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ กับจังหวัดปราจีนบุรี และเทือกเขาภูพาน ก่อตัวขึ้นเป็นทิวยาว อยู่ระหว่างแม่น้ำโขง 

ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ป่าไม้ มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงที่มีอยู่ทั่วไป ป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืนและป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณ มีอยู่ในบริเวณ อำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และ อำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา เป็นต้น 

อ่านทั้งหมด

 

Footer
copyright 2005 www.GuideUbon.com
สนง.ไกด์อุบล 89/1 ถ.พโลรังฤทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
contact us : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511