guideubon

 

ความเป็นมาของพิธีวันแห่งความดีอุบลราชธานี

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-01.jpg

วันที่ 11 เดือน 11 (พฤศจิกายน) ของทุกปี จังหวัดอุบลราชธานีมีการจัดงานวันรำลึกแห่งความดีของชาวอุบลราชธานี ณ บริเวณอนุสาวรีย์แห่งความดี ซึ่งตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในทุ่งศรีเมือง โดยนอกจากจะมีพิธีวางพวงมาลาจากหน่วยงานต่างๆ และชาวต่างชาติแล้ว ยังมีการจุดไฟกระถางคบเพลิง การเป่าแตรเดี่ยว การมอบช่อดอกไม้ที่ระลึก ปิดท้ายด้วยการร่วมกันร้องเพลงสามัคคีชุมนุม ตามด้วย Auld Lang Syne ด้วย

สุรพล-สายพันธ์-อนุสาวรีย์แห่งความดี.jpg

นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวกับไกด์อุบลถึงความเป็นมาของพิธีวันแห่งความดี อุบลราชธานี วันที่ 11 พฤศจิกายน เวลา 11.00 น. ว่า อนุสาวรีย์แห่งนี้ เดิมเชลยศึกได้สร้างอยู่ทางทิศใต้ เพื่อเป็นที่ระลึกและขอบคุณชาวอุบลราชธานี ที่เคยให้น้ำและอาหารขณะตกอยู่ในค่ายกักกันที่อุบลราชธานี และมีคำจาารึกว่า Ex PoW คือ Ex prisoner of War เรียกชาวอุบลว่า Little Mother ต่อมาประมาณปี 2513 เทศบาลเมืองอุบลราชธานี (ขณะนั้น ปัจจุบันยกฐานะเป็นเทศบาลนคร) ได้ก่อสร้างทดแทนและย้ายมาอยู่ มุมทางทิศเหนือและมีคำจารึกว่า The Monument of Merit

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-02.jpg

ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2551 ขณะที่นายสุรพล สายพันธ์  ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และดูแลงานส่งเสริมท่องเที่ยว ได้รับการบอกกล่าวจากคุณธนพร พูลเพิ่ม ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวอุบลราชธานีขณะนั้นว่า ทราบว่าเคยมีชาวต่างชาติมาที่อนุสาวรีย์แห่งความดี (The Monument of Merit) ที่อยู่ตรงมุมทุ่งศรีเมือง ทางทิศเหนือ และอนุสาวรีย์นี้มีความเป็นมาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับชาวอุบล ที่มีน้ำใจให้อาหารและน้ำแก่เชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้หารือวว่า ควรทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ในมิติทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบเป็นพิธีการ

โดยได้นำรูปแบบที่เคยจัดที่เคยจัดในงาน "ยุทธนาวีเกาะช้าง"จังหวัดตราด (บริเวณอนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง ตรงแหลมงอบ) เป็นแนวทาง อาทิ การวางพวงมาลา การกล่าวสดุดี การจุดคบไฟ (จากที่เคยเห็นในพิธีการที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและที่ประตูชัยในนครปารีส เพื่อไว้รำลึกถึงวีระชน ) การเป่าแตรเดี่ยว มีบรรเลงเพลงเพื่อรำลึก และได้มีบทภาษาอังกฤษประกอบเพื่อสื่อกับชาวต่างชาติ

พร้อมกับประสานหน่วยงานต่างๆ มาร่วมพิธีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดใช้วันที่ 11 เดือน 11 (เดือนพฤศจิกายน) เวลา11.00 น. ที่รับทราบในขณะนั้นว่า เป็นวันและเวลาที่ทำพิธีรำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลก งานที่กำหนดขั้นตอนต่างๆ ยังคงเป็นรูปแบบจนปัจจุบัน 

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-03.jpg

และจากการจัดงานติดต่อกันหลายปี มีผู้สนใจค้นคว้า จนพบเรื่องราวของจังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สองมากมาย พบบุคคลที่เกี่ยวข้องและทายาท สถานที่ ร่องรอยและเรื่องราวต่างๆจนปัจจุบัน รวมทั้งพบว่า รูปแบบการจัดงาน วันที่11 เดือน11เวลา11.00 (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่อุบลราชธานีจัด ตรงกับการจัดงานที่กาญจนบุรี รวมทั้งประเทศต่างๆหลายประเทศทั่วโลก เรียกว่า วันรำลึกแห่งสงคราม ( The Remembrance Day ) และมิได้หมายถึงเพียงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เริ่มจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เรียกว่า Armistice Day และเปลี่ยนมาเรียกว่า Remembrance Day หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รูปแบบหลักจะคล้ายๆ กัน แต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกัน

โดยกิจกรรมในพิธีวันรำลึกแห่งความดี อุบลราชธานี ล่าสุด ปี พ.ศ.2566 มีดังนี้
- พิธีวางพวงมาลาจากหน่วยงานต่างๆ
- นักร้องกิตติมศักดิ์ ขับร้องเพลง ไร้รักไร้ผล และเพลงเกียรติศักดิ์ทหารเสือ
- ประธานในพิธีวางพวงมาลา
- ประธานในพิธีและตัวแทนชาวต่างชาติ ร่วมกันจุดไฟบรกระถางคบไฟ Eternal Flame เพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้กล้าหาญ
- ประธานกล่าวรำลึกวีรชน

เมื่อถึงเวลา 10.45 น. เข้าสู่ขั้นตอนพิธีการสากล
- ชาวต่างประเทศวางพวงมาลา
- ผู้แทนทายาทเชลยศึกกล่าวขอบคุณชาวอุบลราชธานี
- ผู้แทนทายาทเชลยศึกมอบช่อดอกไม้แก่ตัวแทนชาวไทย (Lady of Ubon)

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-04.jpg

เวลา 11.00 น.
- พลแตรเดี่ยวเป่าแตรนอน
- ยืนสงบนิ่ง 2 นาที
- พลแตรเดี่ยวเป่าแตรปลุก
- ผู้ร่วมงานทุกท่านจับมือเป็นวงกลม ร่วมร้องเพลงสามัคคีชุมนุม และเพลง Auld Lang Syne

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-05.jpg

สำหรับพลแตรเดี่ยว และวงดนตรีที่เคยมีในงานวันแห่งความดี ตั้งแต่2551-2566 มีดังนี้

1. ดต.เสมอ เดชะ ตำรวจนอกราชการ อดีต ผบ.หมู่ สภ.เมืองอำนาจเจริญ และวิทยากรลูกเสือชาวบ้าน

2. ดต.คมสันต์ แสนจันทร์ อดีตตำรวจตระเวณชายแดน 22 ปัจจุบันสังกัดดำรงตำแหน่ง รอง สวป. สภ.ม่วงสามสิบ ยศ ร.ต.ท.

3. จสอ.องอาจ นาคำ สังกัดหมวดดุริยางค์ มทบ.22

4. สอ.พงษ์พิทักษ์ ไตรยมาตย์ สังกัดหมวดดุริยางค์ มทบ 22 (คนปัจจุบัน) ท่านนี้เคยมาบรรเลงในงานนี้ตอนเป็นนักเรียนมัธยม และทำหน้าที่ช่วยฝึกซ้อมและควบคุม วงชิมโฟนนี่ของโรงเรียนนารีนุกูลบรรเลงในงานนี้มา 4 ปี รวมทั้งได้ศึกษางานวันที่ระลึกแห่งสงคราม และได้นำเพลงที่เคยใช้บรรเลงในประเทศต่างๆ รวบรวมมาบรรเลงในงานปี 2566 นี้ด้วย

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-06.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-07.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-08.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-09.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-10.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-11.jpg

วงดนตรีที่เคยมาบรรเลงในงานวันแห่งความดี คือ
- วงชิมโฟนี่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (กำกับ ควบคุมและ อำนวยเพลงโดย ผศ.ดร ศรัณย์ ศรีพุทธรินทร์ และผศ.ดร ดิษพงษ์ อุเทศธำรง
- วงดนตรีผสมกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุบล โดยมี อาจารย์สมปอง สาระ อดีตอาจารย์ดนตรี รร.เบ็ญจะมะมหาราช ควบคุมวง
- วงซิมโฟนี่ รร.นารีนุกุล โดยอาจารย์สุกิจ ศรีงาม อดีตอาจารย์ดนตรี รร นารีนฺกูล โดยมี สอ.พงษ์พิทักษ์ ไตรยมาตย์ จากมทบ22 เป็นผู้ช่วยฝึกซ้อม
- และวงดนตรีที่บรรเลงในปี 2566 เป็นวงดุริยางค์ มทบ.22 ภายใต้การกำกับโดย พลตรี อัครพนธ์ มูลประดับ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 และภายการการอำนวยเพลงโดย ร้อยโทพงศธร พอจิต รองผบหมวดดุริยางค์ มทบ.22

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-12.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-13.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-14.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-15.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-16.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-17.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-18.jpg

อนุสาวรีย์แห่งความอี-EX-POW-19.jpg

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511