guideubon

 

ลาบหมาน้อย 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี

ลาบหมาน้อย-อุบล-02.jpg

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดกิจกรรม "1 จังหวัด 1 เมนู เชิตซูอาหารถิ่น" ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น เป็นการส่งเสริมศักยภาพของเครื่อข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม บนพื้นฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้พิจารณาคัดเลือกกิจกรรม "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น" โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีรายการอาหารที่ได้รับการคัดเลือกเป็น "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชอาหารถิ่น" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้แก่ ลาบหมาน้อย

ลาบหมาน้อย คือ เมนูพื้นบ้านที่ทำมาจากพืชชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “ต้นเครือหมาน้อย” โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อตามถิ่นที่พบ เช่น กรุงเขมา ขงเขมา เปล้าเลือด และหมอน้อย (หมาน้อย) มีลักษณะลำต้นเป็นไม้เถาเลื้อย มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่น ไม่มีมือเกาะ มีรากสะสมอาหารใต้ดิน เป็นพืชใบเดี่ยวรูปหัวใจ พบมากในพื้นที่ภาคอีสาน ในอดีตพบได้ตามป่า จึงเป็นของหายาก

ชาวบ้านในภาคอีสาน นิยมนำต้นเครือหมาน้อยไปทำเมนูลาบ กลายเป็นที่มาของ “ลาบหมาน้อย” มีส่วนผสม คือ พริกป่น, ปลาร้าสับ, น้ำปลา, ต้นหอม, ผักชี, ตะไคร้ กรรมวิธีการทำ ในขั้นแรกจะนำใบหมาน้อยมาล้างแล้วขยำกับน้ำเปล่าจนได้น้ำสีเขียวเข้ม กรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำหมาน้อยที่ได้มาปรุงรสตามต้องการ ใส่เนื้อปลา พริกป่น ปลาร้าสับ น้ำปลา ต้นหอม ผักชี ตะไคร้ คนให้เข้ากัน เทใส่ภาชนะแล้วทิ้งไว้จนจับตัวเป็นก้อนวุ้น เพียงเท่านี้ก็พร้อมรับประทานแล้ว เป็นเมนูที่ทำได้ง่าย และดีต่อสุขภาพ

ลาบหมาน้อย มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายอย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน สามารถรับประทานได้ทุกวัย เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นไข้ หรือเป็นร้อนใน

ลาบหมาน้อย เป็นเมนูพื้นถิ่นที่สามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารนำไปจัดจำหน่าย หรือพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นคหกรรมในสถานศึกษา และต่อยอดเพิ่มมูลค่ากางเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ทั้งอาหารคาว และอาหารหวานนอกจากนี้ ยังสามารถยกระดับเป็นอาหารพื้นถิ่น สำหรับรับรองแขกที่มาเยี่ยมเมืองอุบลราชรานี รวมทั้งพัฒนาเป็นอาหารเอกลัษณ์ท้องถิ่นที่มาแล้วต้องได้ทาน

Lab Ma Noi, glorifying local food Ubon Ratchathani

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511