guideubon

 

กกต.รับรองผลเลือกตั้ง พิศทยา ไชยสงคราม นายกเล็ก นครอุบลฯ

เทศบาลนครอุบล-พิศทยา-ไชยสงคราม-01.jpg

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 คณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีเพิ่มเติม โดยนางสาวพิศทยา ไชยสงคราม ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศในตรีนครอุบลราชธานี

ตามที่ได้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งตามมาตรา 142 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2564 นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 และมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 และข้อ 179 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศผลการเลือกตั้ง ดังนี้

นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2564

(นายปกรณ์ มหรรณพ)
กรรมการการเลือกตั้ง

เทศบาลนครอุบล-พิศทยา-ไชยสงคราม-02.jpg

"สิ่ว" พิศทยา ไชยสงคราม พาทีมผู้สมัคร สท. นครอุบลฯ ชนะยกทีม

สิ่ว-พิศทยา-01.jpg

สำหรับนางสาวพิศทยา ไชยสงคราม ว่าที่นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ซึ่งจะต้องดูแลงบประมาณถึงปีละ 835.67 ล้านบาท เป็นลูกสาวคนเล็กของตระกูลไชยสงคราม เจ้าของธุรกิจห้างค้าปลีก "ยงสงวน" ที่มีหลายสาขาในจังหวัดอุบลราชธานี

นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม สมรสกับนายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ เขต 1 จังหวัดอุบลราชธานี บุตรของนายเกรียง กัลป์ตินันท์ ผู้บริหารพรรคเพื่อไทย ซึ่งนายเกรียง กัลป์ตินันท์ ตัดสินใจส่งลงสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้ และสะใภ้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถชนะเลือกตั้งได้ในที่สุด

ตลอดระยะเวลาของการหาเสียง นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม ชูนโยบายฟื้นฟูนครอุบล ปลุกชีวิต สร้างเศรษฐกิจดี โดยกล่าวว่า ตนเป็นคนที่เข้าใจคนทุกรุ่น เพราะเป็นคนที่ทำงานอยู่กับคนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ จึงถือว่า นี่คือจุดแข็ง ที่จะสามารถเข้าไปประสานงาน และทำงานเพื่อพี่น้องได้อย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ที่ได้ทำธุรกิจในพื้นที่ จะนำประสบการณ์ตรงนี้มาช่วยพี่น้องแก้ไขปัญหาคนตกงาน ว่างงาน หรือความยากจนได้

ขณะนี้ปัญหาที่เป็นปัญหาหลักของนครอุบล คือ ปัญหาเศรษฐกิจ คนจน คนตกงาน เพิ่มจำนวนขึ้นตนจึงมีแนวคิดที่จะใช้ประสบการณ์ที่มี “ฟื้นฟูนครอุบล ปลุกชีวิต สร้างเศรษฐกิจดีให้คนอุบล” เช่น ฟื้นโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูลถึงอ่างเก็บน้ำห้วยวังนอง เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นสถานที่ออกกำลังกายให้กับคนอุบล มีตลาดนัดริมแม่น้ำมูล ตรงนี้ใช้งบประมาณไม่มาก แต่จะเป็นการพลิกฟื้นนครอุบลในระยะยาวเพราะ ถนนรอบมูล

นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังจะสามารถเป็นตลาดนัด และตลาดนัดโต้รุ่ง Street Food ได้ยกระดับอุบลเป็น “Green City : นครอุบล ปอดของคนอีสาน 

 สิ่ว-พิศทยา-02.jpg