guideubon

 

อุบลฯ เปิดศูนย์ EOC ตอบโต้โรคไข้เลือดออก ทุกอำเภอ

EOC-ไข้เลือดออก-01.jpg

นายสุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยปี พ.ศ.2562 ( ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2562) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสมรวม 35,482 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดได้แก่ จังหวัดตราด อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ และราชบุรี ตามลำดับ

EOC-ไข้เลือดออก-02.jpg

สถานการณ์ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24 มิถุนายน 2562 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ป่วยรวม 3,695 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย เป็นผู้มีผลตรวจยืนยันโรคไข้เลือดออก 11 ราย ( อ.นาจะหลวย 5 ราย,วารินชำราบ 2 ราย, บุณฑริก 2 ราย, น้ำขุ่นและสิรินธร อำเภอละ 1 ราย ) รอตรวจยืนยันผลอีก 1 ราย พบผู้ป่วยกระจายในทุกอำเภอ มีการระบาดรุนแรงในพื้นที่อำเภอน้ายืน นาจะหลวย น้ำขุ่น สำโรง สิรินธร บุณฑริก เดชอุดม ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม ม่วงสามสิบ ทุ่งศรีอุดม วารินชำราบ โพธิ์ไทร เขมราฐ นาตาล ตระการพืชผล สว่างวีระวงศ์ และอำเภอเมืองอุบลราชธานี 

สฤษดิ์-วิฑูรย์-03.jpg

ด้านนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ใด้มีข้อสั่งการในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ให้ประกาศสงครามกับยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยให้นายอำเภอทุกอำเภอดำเนินการ 4 กลยุทธ ได้แก่

กลยุทธที่ 1 การป้องกันไม่ให้ยุงกัด

กลยุทธที่ 2 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ให้ค่า HI, Ci = 0

กลยุทธที่ 3 ให้ อสม. เคาะประตูบ้านทุกหลังทุกวัน เพื่อค้นหาผู้มีอาการไข้ ให้รีบพบแพทย์ไม่เกินไข้วันที่ 2 และ

กลยุทธที่ 4 ให้ทุกอำเภอเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ( Emergency Operations Center: EOC ) ควบคุมโรคไข้เลือดออก และดาเนินการตามแนวทาง พชอ. พัฒนาคุณภาพชีวิตอาเภอ เพื่อควบคุมการระบาดของโรค และป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม

EOC-ไข้เลือดออก-03.jpg

สำหรับในโรงเรียน ขอให้ครูประจำชั้นคัดกรองเด็กทุกวันตอนเช้า หากมีไข้สูง ให้หยุดเรียน แล้วส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที และจัดตารางเวรครูและเจ้าหน้าที่ และนักเรียน ทั้ง อสร.และ ยสร. ให้ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนทุก 7 วัน พร้อมกับฉีดเสปรย์เพื่อฆ่ายุงตัวแก่ หรือประสานเจ้าหน้าที่ อบต. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย โดยเฉพาะจุดที่มียุงลายชุกชุม คือ ห้องน้า ห้องเรียน และบริเวณรอบโรงเรียน

EOC-ไข้เลือดออก-04.jpg

ในช่วงที่มีการระบาดนี้ หากมีอาการป่วยหรือพบผู้ป่วยมีไข้ทุกคน ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาล และไม่ควรเกินวันที่ 2 ที่มีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มียารักษาให้หายผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูง 3 – 7 วัน ซึม บางรายมีอาการคล้ายไข้หวัด หรืออุจจาระร่วงร่วมด้วย การรักษาเป็นการประคับประคองให้พ้นช่วงวิกฤติ คือ ระยะหลังไข้ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง หากมาพบแพทย์ช้า หรือรักษาไม่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนยาลดไข้ที่รับประทานได้คือ ยาพาราเซตามอล ห้ามซื้อยาลดไข้ชนิดอื่นๆ มารับประทานเอง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้

อุบล-ควบคุมไข้เลือดออก-05.jpg

หากมีปัญหาด้านสุขภาพ ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานพยาบาลใกล้บ้าน หากพบผู้ป่วยสงสัยเป็นเป็นไข้เลือดออก มีไข้สูง ซึม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นาชุมชน และอบต./เทศบาลที่รับผิดชอบ เพื่อให้มีการดาเนินการลงพ่นเคมีภัณฑ์และกำจัดลูกน้ายุงลายในหมู่บ้าน เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในทันที ในกรณีผู้ป่วยที่มีไข้ทุกคน ลูกหลานและชาวบ้านทุกคน หากนอนกลางวัน ให้นอนในมุ้ง หรือทายากันยุง ป้องกันยุงลายกัด วันละ 2 – 3 ครั้งบริเวณแขน ขา คอ จะป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

อุบล-ควบคุมไข้เลือดออก-04.jpg

ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือกลุ่มสื่อสารมวลชน และสถานีวิทยุใน จ.อุบลราชธานีและวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวในทุกหมู่บ้าน แจ้งเตือนประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนควบคุมโรค โดยการกาจัดลูกน้ายุงลายยุงลายให้ต่อเนื่องในทุกหมู่บ้าน เพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

พรสิริ มณฑา นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ ข่าว/ส่งข่าว
สานักงานสาธารณสุขจังหวดอุบลราชธานี