guideubon

 

เปิดโครงการ "บวร" เศรษฐกิจพอเพียงตามทฤษฎีบันได 9 ขั้น

นิกร-สุกใส-รองผู้ว่า-อุบล-03.jpg

วันที่ 25 สิงหาคม 2560 นายนิกร สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดโครงการ "บวร" (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยมี พระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ, นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ, นายพิพัฒน์ ตันติศรีเจริญกุล ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี และแขกผู้มีเกียรติร่วมงานจำนวนมาก ณ บริเวณลานหน้า Tops Market ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-01.jpg

โครงการบวร ( บ้าน วัด โรงเรียน ) ผักอินทรีย์วิถีไทย สวนคนมีบุญ ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อจัดตั้งขึ้น โดยมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe Foundation ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจของ CENTRAL Group เพื่อร่วมพัฒนาและส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มสมาชิกอินทรีย์วิถีไทยป่าดงใหญ่วังอ้อ ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ จังหวัดอุบลราชธานี โดยนำหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้น มาใช้ในการพัฒนา โครงการฯ อาทิ การส่งเสริมปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนก่อน เป็นอันดับแรก เมื่อมีพื้นฐานที่มั่นคงแล้ว ก็ให้ทำบุญและแบ่งปันกัน รู้จักการเก็บรักษา คือ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมุลค่าเพิ่มขึ้น ออกจำหน่ายเป็นรายได้ โดยการรวมกลุ่ม รวบรวมผลผลิต สร้างตราสัญลักษณ์ถ่ายทอดเรื่องราวผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด และจัดจำหน่ายผลผลิตผักอินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี 100%

พระครูสุขุมวรรโณภาส-01.jpg

พระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ กล่าวว่า พระเดชพระคุณ พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพฯ เป็นผู้ริเริ่มและวางรากฐานการจัดตั้งศุนย์ฝึกอบรมที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ.2546 มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาพระภิกษุ สามเณร เด็ก เยาวชน คนในชุมชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา มีการนำศาสตร์พระราชามาเขียนเป็นตารางลงบนแผ่นดิน ส่งเสริมให้คนในชุมชนนำหลักทฤษฎี 9 ขั้น ตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม

สัณหจุฑา-จิราธิวัฒน์-01.jpg

นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ กล่าวว่า มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ (earthsafe foundation) ได้เข้ามาส่งเสริมด้านการรวมกลุ่มจนเกิดกลุ่ม "อินทรีย์วิถีไทย จังหวัดอุบลราชธานี" มีการส่งเสริมด้านการแปรรูป การทำบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนด้านการตลาด เอื้อเฟื้อให้กลุ่มฯ นำผลผลิตอินทรีย์วิถีไทย ไปวางจำหน่ายที่ Tops Market ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สาขาอุบลราชธานี ได้ โดยมีการกำหนดกติกาสัญญาใจ "มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย" ร่วมกัน คือ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ไม่ใช้พืชที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ และต้องดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ไม่ปลูกเพื่อขายทั้งหมดเพียงอย่างเดียว ต้องปลูกไว้เพื่อบริโภคในครอบครัว เมื่อเหลือให้ทำบุญ แบ่งปันแก่ญาติ เพื่อนพ้องน้องพี่ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน หรือผู้ประสบภัยวิบัติ เป็นต้น

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-02.jpg

ความดีงามที่เกิดขึ้น อาศัยทุนทางธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่า ที่อุดมสมบูรณ์ ทุนทางสังคม คือ มีพระสงฆ์ ครู คลัง ช่าง หมอ พ่อแม่ เป็นหลักในการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมประสาน มีเด็ก เยาวชน คนในชุมชนที่มีศรัทธา มีใจรัก เสียสละ อุทิศตนบนแนวทางความพอเพียง ทุนทางเครือข่าย คือ บ้าน วัด โรงเรียนและราชการ ให้การส่งเสริมสนับสนุน จึงเกิดผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสัญลักษณ์ "บวร" (บ้าน วัด โรงเรียน) จำหน่ายผลผลิตผักอินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี 100 % ที่ Tops Market สาขาเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เป็นการจำหน่ายโดยตรงจากผู้ผลิดสู่ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-03.jpg

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-04.jpg

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-05.jpg

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-06.jpg

บวร-อินทรีย์วิถีไทย-อุบล-07.jpg