guideubon

 

เด็กอุบลฯ เจ๋ง ได้ที่ 3 การแข่งขันThailand IT Contest Festival 2015

NSC2015--อุบล-01.jpg

นางสาวรัตนาภรณ์  สุภี นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คว้ารางวัลที่ 3 ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2015) หรือ Thailand IT Contest Festival 2015 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนิสิตนักศึกษา โครงการ “สื่อการเรียนรู้ นาฬิกาพาเพลิน” ได้รับโล่พร้อมทุนการศึกษา จำนวน 20,000.- บาท

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำนักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ เข้าร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วยนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

NSC2015--อุบล-02.jpg

          1. โครงการ “เกมยิงปืน 3 มิติ ควบคุมด้วยเทคโนโลยีกล้องไคเนคต์ สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์” โดยมี นายจาตุรณต์  ภาวศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการ นายพีรธัช  ธรรมบันเทิง และ นายรุจิภาส  ชาติกานนท์ เป็นผู้พัฒนาโครงการ และมี ดร.สมปอง  เวฬุวนาธร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          2. โครงการ “หนังสือเออาร์ เรื่องประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์” โดยมี นายจักรพันธ์  บูรณะกิติ เป็นหัวหน้าโครงการ นายมารุต  ศรีจันทร์ เป็นผู้พัฒนาโครงการ และ นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          3. โครงการ “หนังสือภาพสวนสัตว์อุบลราชธานีแบบสามมิติ ด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์” โดยมี นายนำชัย  ศรีสุข เป็นหัวหน้าโครงการ นายโสธร  กาลจักร และ นางสาวรัฐธิดา กางโสภา เป็นผู้พัฒนาโครงการ  และ นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          4. โครงการ “สื่อการเรียนรู้ นาฬิกาพาเพลิน” โดยมี นางสาวรัตนาภรณ์  สุภี เป็นหัวหน้าโครงการ และ นางสาวทศพร  จูฉิม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

สำหรับการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2015) หรือ Thailand IT Contest Festival 2015 รอบชิงชนะเลิศจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 18 – 20 มีนาคม 2558 ณ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2015) การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC2015) การแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (YECC2015 ) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสร้างเด็กไทย...หัวใจไอที เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนครู อาจารย์ได้แสดงความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การใช้งานจริง อันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป