guideubon

 

ปราชญ์เมืองอุบล พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตติ ป.ธ.6)

พระเทพกิตติมุนี-วัดมหาวนาราม--อุบล-01.jpg
 
พระเทพกิตติมุนี มีนามเดิมว่า สมเกียรติ นามเกษ เป็นบุตรของนายหนา-นางเพ็ง นามเกษ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ที่บ้านดอนนกชุม ต.กระโสบ อ.เมืองอุบลราชธานี โดยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 14 ปี ที่วัดกระโสบ ต.กระโสบ และอุปสมบทที่วัดพิชัยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เมื่อปี 2490 สอบได้นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค ครุศาสตร์บัณฑิต (กิตติมศักดิ์)

พระเทพกิตติมุนี ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดมหาวนารามตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 และเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2529 ต่อมา พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายมหานิกาย และ พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพกิตติมุนี เมื่อชราภาพได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเมื่อปี 2551 

พระเทพกิตติมุนี-วัดมหาวนาราม--อุบล-04.jpg

ผลงานด้านการปกครองคณะสงฆ์ ตั้งแต่ปี 2511 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม ระหว่างนั้น ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม ให้ดำเนินการขอยกฐานะวัดมหาวนารามขึ้นเป็น พระอารามหลวง ซึ่งท่านได้ดำเนินการตามคำบัญชาของเจ้าอาวาสอย่างเคร่งครัด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดมหาวนารามจากวัดราษฎร์ให้เป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2521

ระหว่าง ทำหน้าที่ปกครองวัดมหาวนาราม ท่านได้เล็งเห็นว่า ชาวอีสานตอนล่างส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทำให้คนกลุ่มนี้เสียโอกาสทางการศึกษา จึงได้เสนอโครงการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์อุบลราชธานี เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหลานชาวไร่ชาวนายากจน ไม่มีทุนทรัพย์ส่งลูกหลานไปเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่ให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นสถานที่รองรับลูกหลานของคนยากคนจนเหล่านั้นแทน

แนวความคิดของ ท่านได้รับการสนับสนุนจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการภาคอีสานทั้ง 19 จังหวัด จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาลัยสงฆ์อุบลราชธานี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2521 เป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานีในเวลาต่อมา

การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์อุบลราชธานี ในยุคแรก เปิดดำเนินการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ตามหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) และขยายตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาโรงเรียนกิตติญาณวิทยา วัดมหาวนาราม และยังเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.1-6 รวมทั้งจัดทำศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ภายในวัดเป็นแห่งแรกของจังหวัด

ใน เวลาต่อมา ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ภายในวัดไปทั่วทั้ง จังหวัดรวม 350 วัด แต่สิ่งที่พระเดชพระคุณท่านภาคภูมิใจเป็นที่สุดในการสนับสนุนส่งเสริมการ ศึกษา คือ การเป็นแกนสำคัญดำเนินการขยายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี ไปตั้งอยู่ที่ดงบั้งไฟ ต.กระโสบ อ.เมืองอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่ใช้สอยมากถึง 212 ไร่ และสามารถเปิดใช้งานได้แล้วในปัจจุบัน 

 

พระเทพกิตติมุนี เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระของคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักของฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองทุกระดับ เป็นพระนักพัฒนา ผู้มองการณ์ไกลในทุกๆ ด้าน ให้ความส่าคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา จะเห็นว่าตลอดชีวิต เพศบรรพชิตที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน ได้ทุ่มเททั้งพลังกายและพลังใจให้แก่การศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา ทั้งฝ่ายธรรมแก่ศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถมีสติปัญญา เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงชองโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความจ่าเป็นอย่างยิ่งส่าหรับผู้ที่จะสืบทอดศาสนทายาท(บวชเรียนตลอดไป) และผู้ที่จะก้าวไปสู่โลกแห่งการต่อสู้แข่งขันภายนอกให้เป็นผู้ถึงพร้อมแห่งความเป็น “ผู้รู้” และเป็น “ผู้มีสติ” ในการด่าเนินการชีวิตให้มีความ “สุข สงบ “ ต่อไป จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์เมืองอุบลราชธานี” อย่างแท้จริง

 

พระเทพกิตติมุนี-วัดมหาวนาราม--อุบล-02.jpg

พระเทพกิตติมุนี ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 เวลา 17.55 น. ด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สิริอายุ 86 พรรษา 66

กำหนดการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติมุนี

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 13.00 น. พิธีเคลื่อนสรีระสังขารพระเทพกิตติมุนี จากวัดมหาวนาราม ไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่เมรุชั่วคราวปราสาทนกหัสดีลิงค์ มณฑลพิธีทุ่งศรีเมือง 19.00 น. สวดพระอภิธรรมและปฏิบัติธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นองค์ประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติมุนี

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 06.00 น. ประกอบพิธีสามหาบ หรือเก็บอัฐิ

พระเทพกิตติมุนี-วัดมหาวนาราม--อุบล-05.jpg