guideubon

 

ม.อุบลฯ พัฒนาคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) ผ้าทอ ในพื้นที่ภาคอีสาน

ผ้าทออุบล-อีสาน-01.jpg

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จับมือ ม.อุบลฯ นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มายกระดับ OTOP ผ้าทอ เตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อรองรับการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนา "โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) ประเภทผ้าทอสู่การรับรองมาตรฐาน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" โดยรับเกียรติจาก นายณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

ณัชนพงศ์--วชิรวงศ์บุรี-รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ-.jpg

โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มผ้าทอในภาคอีสาน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอให้ มีคุณภาพและสามารถเข้าสู่กระบวนการขอการรับรองมาตรฐาน ขยายตลาดเพื่อรองรับการ ขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการสินค้าผ้าทอในพื้นที่ 9 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร และอุดรธานี เข้าร่วมจำนวน 150 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2557

นายณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มีภารกิจหลักในการให้บริการงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่หลากหลายแก่สังคม และชุมชน เป้าหมายหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์บริการ คือ นำกลไกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มายกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอีกทั้งถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดการรับรองสินค้าในเชิงคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้อง กับภารกิจดังกล่าว

กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงจัดทำนโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพสินค้า มุ่งเน้น ศักยภาพทางการค้า กับประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การ จัดโครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทผ้าทอ นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตผ้าทอ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมา ยกระดับ OTOP ผ้าทอ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เมื่อสินค้ามีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจะสร้างชื่อเสียงของชุมชนให้เป็นที่รู้จักเกิดการยอมรับและเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งในชุมชนมี โอกาสขยายตลาดเพื่อรองรับการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะถึงอีกด้วย

จันทร์เพ็ญ-อินทร์ประเสริฐ.jpg

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เพ็ญ อินทร์ประเสริฐ ที่ปรึกษาโครงการฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการสินค้าผ้าทอในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมายของโครงการ ในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร และอุดรธานี โดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าทอ สามารถเข้าสู่ระบบการขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ตามเป้าหมายของโครงการ

ผ้าทออุบล-อีสาน-02.jpg

ผ้าทออุบล-อีสาน-03.jpg

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511