guideubon

 

อุบลฯ เก็บกู้ระเบิด 1,005 ทุ่น ส่งมอบพื้นที่ให้เขื่อนสิรินธรจัดกิจกรรม

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-01.jpg

วันที่ 4 เมษายน 2561 พลโท สิทธิพล นิ่มนวล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมเป็นประธานจัดงานวันทุ่นระเบิดสากล ประจำปี 2561 ในพื้นที่สวนเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้แทนจากประเทศศรีลังกา และประชาชนในพื้นที่ร่วมงานจำนวนมาก

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-02.jpg

ตามที่องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 4 เมษายนของทุกปี เป็นวันทุ่นระเบิดสากล เพื่อสร้างความตระหนัก และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่ได้รับผลกระทบได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากทุ่นระเบิด ซึ่งยังคงเหลือ ตกค้างในพื้นที่เขื่อนสิรินธร เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอดีต

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-03.jpg

ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ และหน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการค้นหา เก็บกู้ กวาดล้างและทำลายให้หมดไป เพื่อคืนพื้นที่ปลอดภัยให้ใช้ประโยชน์ต่อไป 

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-04.jpg

ภายในงาน มีกิจกรรมการมอบถุงยังชีพผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน การทำลายทุ่นระเบิด จำนวน 243 ถุง และส่งมอบพื้นที่ปลอดภัย สนามทุ่นระเบิดเขื่อนสิรินธร ที่เริ่มวางเมื่อ พ.ศ.2523 โดยกองพันทหารข่างที่ 3 ได้ดำเนินการวางไว้เพื่อป้องกันประเทศ

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-05.jpg

สำหรับการเก็บกู้ทุ่นระเบิด โดยหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม ที่ 3 ซึ่งเป็นหน่วยทำการเก็บกู้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา โดยสามารถเก็บกู้ทุ่นระเบิดได้ทั้งหมด เป็นจำนวน 1,005 ทุ่น ประกอบด้วย ทุ่นระเบิดรถถัง จำนวน 309 ทุ่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกระโดด M16A1 (เอ็ม -16-เอ-วัน) จำนวน 263 ทุ่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ระเบิดอยู่กับที่ M 14 จำนวน 433 ทุน

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-06.jpg

ปัจจุบัน สนามทุ่นระเบิด ณ บริเวณเขื่อนสิรินธร นักปั่นจักรยานและประชาชน สามารถเข้าถึงพื้นที่ริมสันเขื่อน เพื่อชมวิวทัศน์ ที่สวยงาม เพราะสนามระเบิดแห่งนี้กลายสภาพเป็นพื้นที่ปลอดภัยและใช้ประโยชน์ต่อไป

ทุ่นระเบิด-เขื่อนสิรินธร-อุบล-07.jpg

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่เสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิด 510 ตารางกิโลเมตร ส่งมอบพื้นที่แล้ว 406 ตารางกิโลเมตร เหลือพื้นที่เสี่ยงภัย 104 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ชายแดน 100 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ภายใน 4 ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอสิรินธร บุณฑริก นาจะหวย น้ำยืน และอำเภอน้ำขุ่น