guideubon

 

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จ.อุบลฯ ฉบับที่ 11

COVID-19-อุบล25กพ63-01.jpg

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน จังหวัดอุบลราชธานี รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019 : COVID-19) ฉบับที่ 11 ดังนี้

1. สถานการณ์ทั่วโลกและประเทศไทย

ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีรายงานจำนวนผู้ปวยทั่วโลก 80,334 ราย เสียชีวิต 2,705 ราย เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรง 11,567 ราย และพบใน 35 ประเทศ ส่วนประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย หายแล้ว 22 ราย มีอาการรุนแรง 2 ราย และจากการเฝ้าระวังทั่วประเทศ พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI) 1,580 ราย อาการหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว 1,158 ราย (ข้อมูลจาก เว๊ปไซต์กรมควบคุมโรค วันที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 23.00 น.)

2. สถานการณ์ในจังหวัดอุบลราชธานี

- ไม่พบผู้ป่วยยืนยัน
- มีผู้ปวยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) 14ราย ผลตวจไม่พบเชื้อ 11 ราย และรอผลตรวจ 3 ราย
- ผู้ป่วยหายและกลับบ้านแล้ว 11 ราย กำลังรักษา 3 ราย
- ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (High risk contact) 2 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ ครบกำหนดฝาระวัง 14 วัน ให้ไปทำงานตามปกติแล้ว

COVID-19-อุบล25กพ63-02.jpg

3. กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

3.1 ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency operations center : EOC) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 27 มกราคม 2563 ประชุมทุกวันจันทร์ พุธและศุกร์

3.2 ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี จัดตั้จุดคัดกรองที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก ท่าอากาศยานอุบลราชธานี สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ ดานพรมแดน และด่านประเพณีอีก 6 อำเภอตามแนวชายแดนไทย - ลาว - กัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 ได้ตรวจคัดกรอง 118,525 คน ยังไม่พบผู้ป่วย PUI.

3.3 ประชุมเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ห้องแยก ทีมสอบสวนโรค ทีมรักษาพยาบาล ระบบการส่งต่อ วันที่ 27 มกราคม -6 กุมภาพันธ์ 2563 และจัดหาวัสดุชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) เพื่อให้พร้อมรับผู้ป่วย PUI และให้พร้อมสำหรับการระบาดของโรค

3.4 ประชุมให้ความรู้ผู้ประกอบการและพนักงานขับรถแท็กซี่รับจ้าง เรื่องการป้องกันและการทำลายเชื้อโรคในรถ และพนักงานห้างสรรพสินค้า

3.5 ผลิตสื่อ และสื่อสารความเสี่ยงกับประชาชน เรื่องเฝ้าระวังและการป้องกันโรค

3.6 ประชุมเตรียมความพร้อมการตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อเตรียมรับการระบาดใน Phase 3

3.7 จัดให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่ง ตั้งจุดคัดกรองผู้ป่วย และคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic)

3.8 ติดตามให้ความรู้และแนวทางการวัดไข้/ การสังเกตอาการ และการปฏิบัติตัว ให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน และเกาหลีใต้ที่เดินทางมาในจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น

4. การสื่อสารความเสี่ยงกับประชาชน

4.1 หลีกเลี่ยง หรือเลื่อน การเดินทางไปประเทศจีน และประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง (ตามประกาศของกรมควบคุมโรค) หากจำเป็นต้องไป ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด โรงพยาบาล ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัย

4.2 ภายใน 14 วัน หลังจากกลับจากประเทศจีน หรือประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือหายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย แล้วรีบพบแพทย์ทันที ที่โรงพยาบาลของรัฐ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง

4.3 หลีกเลี่ยงการไปตลาดที่ขายชากสัตว์ป่ หรือที่มีชีวิต และการสัมผัสโดยไม่ใช้ถุงมือ

4.4 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ป้องกันได้โดยใช้หลักการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย และไม่คลุกคลีกับผู้ปวยโรคทางเดินหายใจ

4.5 หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปากโดยไม่จำเป็น

4.6 ไมใช้ของส่วนตัวร่มกับผู้อื่น (ช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้เช็ดตัว) เนื่องเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

4.7 รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน และใช้ข้อนกลาง ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation awareness team : SAT)
ศูนย์ EOC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
สายด่วน 094-2631616

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511