guideubon

 

โควิดอุบลฯ ระอุ! เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย เป็นเด็กเล็ก 1 ขวบ 1 ราย

โควิดระอุ-เสียชีวิตเพิ่ม8-01.jpg

วันที่ 26 เมษายน 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี รายงานสถานการณ์โควิด–19 จังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 3,935 ราย เป็นการติดเชื้อจากต่างจังหวัด 51 ราย และติดเชื้อในพื้นที่ 3,884 ราย

ผู้ป่วยละลอกเดือนมกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยสะสม 165,215 ราย รักษาหายสะสม 135,733 ราย กำลังรักษา 29,285 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 197 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 413 (ใส่เครื่องช่วยหายใจ 33 ราย)

ผู้ป่วยโควิด 19 เสียชีวิต จ.อุบลราชธานี วันที่ 26 เมษายน 2565 จำนวน 8 ราย (อ.เมือง 2, เขื่องใน 2, พิบูลมังสาหาร 2, ตระการพืชผล 1, บุณฑริก 1 ราย) เป็นเพศชาย 4 ราย และหญิง 4 ราย
- อายุ 60 ปีขึ้นไป (กลุ่ม 608) 6 ราย
- อายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคประจำตัว 1 ราย
- เด็กเล็ก 1 ราย ( 1 ปี 1 เดือน)

ผู้เสียชีวิต ลำดับที่ 197/2565 เพศชาย อายุ 1 ปี 1 เดือน อยู่ อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ยังไม่ได้รับวัคซีน เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 ด้วยอาการไอมีเสมหะ มีน้ำมูก ตรวจ ATK+ นำมาประเมินอาการที่ รพ. แล้วกลับไปรักษาที่บ้าน (HI) มีประวัติเสี่ยง ติดเชื้อในพื้นที่ (สัมผัสผู้ป่วยในครอบครัว) วันที่ 24 เม.ย.65 มีอาการไข้ ซึม เข้ารักษาที่ รพ.พิบูลมังสาหาร ผลตรวจ PCR ยืนยันพบเชื้อโควิด มีอาการปอดอักเสบ ได้รับยาต้านไวรัส Favipiravir เสียชีวิตวันที่ 25 เมษายน 2565 รวมเวลารักษาในโรงพยาบาล 1 วัน

แนวทางการป้องกันโรคโควิด-19
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
1 หลีกเลี่ยงการพาเด็กเข้าไปในสถานที่แออัด ที่มีคนจำนวนมาก ระบบระบายอากาศไม่ดี
2 สวมหน้ากากอนามัยให้เด็กตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน เว้นระยะห่าง 2 เมตร ( เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรสวมหน้ากาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ
3 สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ไม่นำมือเข้าปาก และหมั่นทำความสะอาดบ้าน พื้นผิวสัมผัส สิ่งของที่เด็กจับเป็นประจำ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ของเล่น 
4 จำกัดกลุ่มคนที่พบเจอกับเด็ก หลีกเลี่ยงการคลุกคลี เช่น กอด จูบ หอมแก้ม
5 ครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดกับเด็ก ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบตามกำหนด รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของแม่และทารกช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
6 ผู้ปกครองควรสังเกตอาการตนเองและเด็ก หากมีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง หรือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ให้รีบพบแพทย์ทันที หรือตรวจ ATK เพื่อประเมินความเสี่ยง หากผลเป็นบวกติดต่อสายด่วน 1330
7 ขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำการฉีดวัคซีน แก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

แนวทางการป้องกันโรคโควิด-19
สำหรับเด็กอายุ 5-12 ปี
1 หลีกเลี่ยงการพาเด็กเข้าไปในสถานที่แออัด ระบายอากาศได้ไม่ดี
2 ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือเสร็จจากการทำกิจกรรมต่างๆ
3 ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน 
4 หากมีการเดินทางท่องเที่ยว หรือเข้าไปในแหล่งชุมชนที่มีผู้คนจำนวนมาก ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้าและพื้นผิวต่างๆ
5 ฉีดวัดซีนป้องกันโควิด 19 ให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว) เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรงและเสียชีวิต
6 หากเด็กมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือสัมผัสกับผู้ป่วย ให้รีบบอกผู้ปกครองตรวจหาเชื้อด้วย ATK
7 กรณีที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบายตัวสงสัยติดเชื้อ หรือสัมผัสเสี่ยงสูง ควรรีบแยกตัวออกจากเด็ก และตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที หากผลเป็นบวกให้โทรติดต่อสายด่วน 1330

แนวทางการป้องกันโรคโควิด-19
สำหรับเด็กอายุ 12-18 ปี
1 หลีกเลี่ยงการพาเด็กเข้าไปในสถานที่แออัดระบายอากาศได้ไม่ดี
2 สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อต้องออกนอกบ้าน
3 เมื่อมีการพบปะสังสรรค์พูดคุยสนทนากัน ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
4 ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
5 ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 และฉีดเข็มกระตุ้นให้เด็กที่เคยได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 4 - 6 เดือน
6 หากมีอาการ ไข้ โอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อ ให้รีบบอกผู้ปกครอง เพื่อตรวจหาเชื้อด้วย ATK