guideubon

 

อาชีวะอุบลฯ จัดประกวด “ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา” มุ่งเป้าเป็นเถ้าแก่น้อย

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-11.jpg

วันที่ 16 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมศรีพรหมราช วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ดร.พงษ์ศักดิพล ทาแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี จัด “โครงการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา” ระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 โดยปีนี้มีนักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของแผนธุรกิจ รวมทั้งสิ้น  35 คน  จาก   7  ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่

- ธุรกิจรับงานสกรีนทุกชิด ภายใต้ชื่อ “G Screen”
- ธุรกิจผลิตกระถางต้นไม้ ภายใต้ขื่อ กระถางปูนต้นไม้ปูนน่ารัก 
- ธุรกิจบริการการรับ-ส่งสินค้า ภายใต้ชื่อ “ Logistics Delivery” 
- ธุรกิจจำหน่ายขนมบราวนี่ ภายใต้ชื่อ “บราวนี่เสริมใบไชยา”
- ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำพริกรสเด็ด ภายใต้ชื่อ “บอง บอง “
- ธุรกิจงานคหกรรมประดิษฐ์ ภายใต้ชื่อ “สุขติ Home economics Modern Design” และ
- ธุรกิจรับออกแบบดีไซน์เอกสารหรือสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ชื่อ” Modern Art Design “

ทั้งนี้ ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการก่อนจะเป็นผู้ประกอบการได้นั้น นักเรียน นักศึกษา เถ้าแก่น้อยในอนาคต จะต้องผ่านกระบวนการการบ่มเพาะ ให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนการประกอบธุรกิจ ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งภายใน ภายนอกสถานศึกษา มาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีทักษะการเขียนแผนธุรกิจที่ถูกต้อง พร้อมมีการประกวดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจไปสู่การประกอบธุรกิจอย่างจริงจัง

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-02.jpg

จากนั้น ลงพื้นที่ศึกษาดูงานรูปแบบการประกอบธุรกิจด้านต่างๆ โดยมีครูประจำสาขาวิชาเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตหรือการบริการ ไปจนถึงจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้อุปโภคบริโภค ซึ่งทุกขั้นตอนจะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินงานจากสถานศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณมายังสถานศึกษา

ทั้งนี้ทุกธุรกิจจะต้องรายงานผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนต่อสถานศึกษาพร้อมเข้าร่วมการประกวดโครงการดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จประจำปี ภายใต้ความรับผิดชอบโครงการทั้งหมด โดยศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เป็นผู้รับผิดชอบในโครงการดังกล่าว

สำหรับธุรกิจที่ผ่านการคัดเลือก จะเป็นตัวแทนของวิทยาลัยฯ เข้าร่วมการประกวดในระดับอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และก้าวไปสู่การประกวดในระดับอื่นๆต่อไป  จึงนับเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจทั้งในและนอกสถานศึกษา และสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปต่อยอดเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นแนวทาง ในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-03.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-04.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-05.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-06.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-07.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-08.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-09.jpg

ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา-10.jpg