guideubon

 

สสจ.อุบลฯ รับมือไข้เลือดออกระบาด ชี้ อุบลฯ ป่วยสูงสุดในอีสาน

สสจ-อุบล-ไข้เลือดออก-01.jpg

นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ปัจจุบัน ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ประเทศไทยพบผู้ป่วย 80,951 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 124.3 ต่อแสนประชากร  เสียชีวิต 88 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย0.11 ต่อแสนประชากร  ส่วนในจังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ป่วย 3,808  ราย คิดเป็นอัตราป่วย 206.4 ต่อแสนประชากร ( สูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) อำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือที่อำเภอเดชอุดม คิดเป็นอัตราป่วย 363.1 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอบุณฑริก อัตราป่วย 356.4 ต่อแสนประชากร และอำเภอสว่างวีรวงศ์ อัตราป่วย 301.3 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.13 ต่อแสนประชากร ( ที่อำเภอม่วงสามสิบ บุณฑริกและอำเภอเมืองอุบล ฯ) สายพันธุ์ที่ระบาดในพื้นที่ คือ DEN3,4

ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้สั่งการให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ทุกอำเภอเชิญกรรมการควบคุมโรคะดับตำบล/หมู่บ้าน( อบต./โรงเรียน/ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/ศูนย์เด็กเล็ก/วัด/อสม. ) เข้าประชุม  War  rom การติดตามแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก และรายงานสาธารณสุขจังหวัดทราบ ผ่านระบบ Teleconference และช่องทาง Line   ทุกวัน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทางจังหวัดประชุม War  rom เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในภาพรวมจังหวัดอุบลราชธานี ในทุกวัน  รวมทั้ง ให้ทีม SRRT ทุกอำเภอเก็บตัวอย่างทรายเคลือบสารเคมีกำจัดลูกน้ำ ส่งตรวจสอบคุณภาพที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี ต่อไป

สสจ-อุบล-ไข้เลือดออก-02.jpg

มาตรการด้านส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานต่อเนื่อง  จะได้สนับสนุนน้ำยาเคมีกำจัดยุงแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เน้นมาตรการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมอบให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/เทศบาล จัดประชุมหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งทำความเข้าใจถึงเทคนิคการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายที่ถูกต้องต่อไป

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิต ได้มีการประชุมจัดทำ Dead case  conference แก่แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุขทุกแห่ง มีการจัดระบบผู้ป่วยที่เสี่ยงเสียชีวิตให้ Admit ทุกราย และส่งต่อถึง รพศ.โดยเร็ว ได้แก่ผู้ที่มีน้ำหนักมาก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด หากป่วยจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องรักษาอาการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกและโรคประจำตัวด้วย  นอกจากนั้น ยังได้สั่งการให้ทุก รพ.และขอความร่วมมือ รพ.เอกชน ร้านขายยาและคลินิก งดใช้ยากลุ่ม NSAID ในผู้ป่วยที่มีไข้ทุกรายไม่ว่าอาการร่วมใดๆ สั่งการให้สถานพยาบาลทุกแห่งคัดกรอง TT (  ) ในผู้ป่วยที่มีไข้ทุกราย มีการรายงานและสอบสวนโรคให้เร็วกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ ภายใน 3 ชม. และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นทีมให้คำปรึกษาเรื่องไข้เลือดออก Hotline 24 ชม.  ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้พบว่า สถานการณ์?ภาพรวม มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงในช่วงเดือนกันยายน 2558และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

สสจ-อุบล-ไข้เลือดออก-03.jpg

สำหรับประชาชน ขอเตือนให้ดำเนินการและระมัดระวังในกลุ่มเด็กโต ผู้ใหญ่และผู้มีโรคประจำตัว ให้ระมัดระวังโรคไข้เลือดออกในช่วงฝนตก หากมีไข้สูงลอย ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ซึม ควรรีบไปพบแพทย์ ระวังยาแก้ปวดลดไข้อย่างแรงที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาทิ ไอบรูโพรเฟน จนทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต วีธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือระวังอย่าให้มียุงเริ่มต้นที่บ้านของตนเอง โดยทำบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ปิดภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกัน จานรองกระถางต้นไม้ ปล่อยปลากินลุกน้ำในอ่างบัว ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์เป็นวิธีที่ดีสุดและยั่งยืนที่สุดเพราะยุงลายใช้เวลาวางไข่เป็นลูกน้ำแล้วเป็นยุง ใช้เวลาเพียง 5-7 วันเท่านั้น และระวังอย่าให้ยุงกัดโดยเฉพาะยุงลายชอบกัดเวลากลางวัน เป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยต้องนอนในมุ้งหรือทายากันยุงทั้งขณะอยู่พักฟื้นที่บ้านหรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล ป้องกันไม่ให้ยุงกัดแล้วไปแพร่เชื้อให้บุคคลอื่น

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค  1422 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ที่ 045-262692-700