guideubon

 

ช่องอานม้า คือ ช่องทางแห่งโอกาสของอุบล เมื่องเปิดเป็นด่านถาวร

นิมิต-สิทธไตรย์-01.jpg

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าประชุม เพื่อให้ข้อมูลด้านการค้า การลงทุน เมื่อเปิดพรมแดนช่องอานม้า น้ำยืน เพื่อคณะความมั่นคงจังหวัดอุบลฯ โดยการนำของ นายเสริม ไชยณรงค์  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะเดินทางไปทำข้อตกลงกับจังหวัดพระวิหาร กัมพูชา ( ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2557)

ประเด็นคือ ปัจจุบันด่านตรงจุดช่องอานม้า เป็นเพียงจุดผ่อนปรน ถือเป็นจุดเข้าออกโดยใช้เอกสาร พาสปอต หรือบอเดอร์พาส การขนส่งสินค้าข้ามแดนเหมือนช่องเม็ก ยังทำไม่ได้ แต่การไปเจารจาครั้งนี้ จะทำข้อตกลงเพื่อยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวร

ถ้าสำเร็จ ก็จะเป็นด่านถาวรแห่งแรกของอุบล ที่เชื่อมติดกับกัมพูชา ผลคือ การค้าขาย การเดินทางไปหากัน การท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นระหว่างสองประะเทศ คนอุบล คนไทย สามารถเดินทางไปเที่ยวนครวัด นครธม โดยทางรถยนต์ได้ จากจังหวัดอุบลฯ เราสามรถเดินทางไปพนมเปญ ไปโฮจิมินซิตตี้ เวียดนามที่ใกล้กว่าออกทางช่องสงำ ศรีสะเกษมาก

เรื่องที่ทางหอการค้าอุบลฯ ได้ให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ ในการเดินทางไปทำข้อตกลง เรื่องการเปิด ช่องอานม้า

1 ช่องอานม้า จะเป็นจุดเชื่อมโยงสามประเทศได้ ไทย -ลาว -เวียตนาม

2.เมื่อเปิด ขอให้พิจารณาจัดการคมนาคมขนส่ง เข้าตัวเมืองน้ำยืน ที่ห่างแค่ 17 กม อันจะเป็นการแก้ไขอุปสรรค เขตอุทยาน และ จะทำให้ อ.น้ำยืน พัฒนารองรับการคาขาย การลงทุน ได้ทันที และ เขตชายแดนกัมพูชา ห่างจากพรมแดน 2-3 กม กัมพูชา กำลังสร้างเมืองใหม่รองรับ

3 ให้พิจารณาภาพรวม ด้านพื้นที่เป็นองค์ประกอบ เพราะอาณาเขตจังหวัดพระวิหาร ค่อนข้างกว้าง และ สองจังหวัด อุบล ศรีสะเกษ ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตจังหวัดพระวิหาร ตลอดจำนวนคน ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับเมืองชายแดนที่ติดอิสาน

4. พระวิหารเป็นเมืองร้อยปราสาท และเป็นที่ตั้งหลี่ผี ฝั้งกัมพูชา ( สวยงามมากกว่าฝั่งลาวเสียอีก ) มีปราสาทปิรมิต แห่งเดี่ยวในกัมพูชา ชื่อ เกาะ เกร์ จึงอาจเชื่อมการท่องเที่ยวให้ นักท่องเที่ยวมาสนใจ ช่องอานม้า

5. การค้า จะต้องอยุ่ภาพดุลย์ระหว่างกัน คือ ช่วยเหลือกันทั้งซื้อและขาย ( เชื่อว่าถ้าเปิดจริง สินค้า อุปโภค ปริโภค จังหวัดพระวิหาร และคนพระวิหาร รวมทั้งคนกัมพูชา ต้องมาอุบล เพราะ หอการค้าได้เคยนำเสนอไว้ว่ามาอุบล ซื้อสินค้าราคาเดียวกับกรุงเทพ จ.อุบลฯ นั้นโดยศักยภาพ เป็นศูนย์กลางของการเดินทาง การขนส่งสินค้าในภูมภาคอยู่แล้ว ถ้าเทียบกำลังซื้อ โดยพิจารณาค่าเงินกัมูชามีค่า เงินสูงที่สุดในสามประเทศเพื่อนบ้าน( ลาว เวียต กัมพูชา) นั่นคือ มีกำลังซื้อ

ภายใต้ สามเหลี่ยมมรกต ( ไทย-ลาว-กัมพูชา) ช่องอานม้าคือ จุดที่ อุบลฯ จะได้โอกาส

เรื่องโดย Nimit Sittitrai

ช่องอานม้า-01.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติม : ช่องอานม้า เป็นชื่อของช่องทางผ่านเข้าออกบริเวณแนวชายแดน ไทย-กัมพูชา เป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขายและผ่านแดนระหว่างไทย-กัมพูชา อยู่ที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเฉพาะวันอังคารและวันพฤหัสบดี

จากอำเภอนาจะหลวย วิ่งไปทางอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มุ่งหน้าไปทางเขาพระวิหาร เมื่อเลยตัวอำเภอน้ำยืนไปได้ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางแยกเข้าซ้ายมือที่จะไปช่องอานม้า

ช่องอานม้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านน้ำยืน หมู่ที่ 6 ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี แต่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในเทือกเขาพนมดงรัก แนวเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตลอดเส้นทางราดยางจะมีโอกาสได้ชมธรรมชาติป่าไม้สองข้างทาง แล้วเมื่อมาสุดทางราดยางก็จะเป็นสุดชายแดนประเทศไทย เป็นลานจอดรถและตลาดที่เป็นแผงค้ามุงหลังคาพื้นปูนซีเมนต์ สินค้าเขมรที่ดูจะมีการซื้อขายกันมากก็คืออาหารป่า พืชผลธรรมชาติเช่น หน่อหวายหรือ ยอดหวาย ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนในพื้นที่มาก ว่ากันว่ามีรสชาติขมนิด แต่ถ้าคนรู้จักปรุงอาหารจะทำอาหารทั้งแกง ต้ม หรือผัดก็มีรสชาติอร่อยเหมือนหน่อไม้