guideubon

 

การแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 เวทีหอประชุมไพรพะยอม

ยลแสง-ศิลป์-ไพรพะยอม-01.jpg

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพการจัดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 ภายใต้ชื่องาน “ยลแสง-ศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข” กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 17 - 19 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ มี 92 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ พร้อมด้วยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา ร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมในครั้งนี้ด้วย

การแสดงแบ่งออกเป็น 3 เวที ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการแสดงตลอดทั้งวัน ได้แก่

- เวทีหอประชุมไพรพะยอม
- เวทีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมฯ
- เวทีตลาดสุขใจ

ยลแสง-ศิลป์-ไพรพะยอม-02.jpg

สำหรับเวทีหอประชุมไพรพะยอม มีการแสดงบนเวทีทั้ง 3 วัน คือ วันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 ตามลำดับการแสดง ดังนี้

ยลแสง-ศิลป์-ไพรพะยอม-17.jpg

UBRU-ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา-18เช้า-ไพรพะยอม.jpg

UBRU-ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา-18บ่าย-ไพรพะยอม.jpg

UBRU-ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา-19เช้า-ไพรพะยอม.jpg

การแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 เวทีหอประชุมไพรพะยอม

การแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 เวทีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมฯ

การแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 เวทีตลาดสุขใจ

การแสดง : ระบําชุดกรีดกรายลายทับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

การแสดงชุดระบํากรีดกราย เป็นระบําพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน เป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างผู้หญิง ที่เป็นผู้รําและผู้ชายที่เป็นนักดนตรี โดยนําลักษณะท่าทางของโนรา มาประสมประสานกับทางนาฏศิลป์ไทย ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน ในการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง สื่อให้เห็นถึงการหยอกล้อระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย

"จตุรภัทร สี่ ทิศ ดินแดนแหล่งวัฒนธรรม"
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

การแสดงร่วมสมัย ที่ผสมผสานทั้งลายเต้นคอนเทมโพรารี่แดนซ์ และรำไทย 4 ภาค เน้นเสนอโชว์ในด้านของความเป็นไทย และวัฒนธรรมในรูปแบบโชว์ที่ถ่ายทอดการแสดงออกจากตัวแสดง ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางด้านอารมณ์ของนักแสดง ประกอบลีลาท่วงท่าไปพร้อม ๆ กัน

การแสดง : หุ่นละครเล็กออกตัว เรื่องรามเกียรติ์ฉบับอีสาน ตอน กวงคำล่อพระราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

รามเกียรติ์ตอนพระรามตามกวาง เป็นตอนต้นเรื่องของการพลัดพรากจากกันของพระรามและนางสีดา เป็นตอนที่นิยมนำมาเป็นชุดการแสดงเพราะมีความสวยงามในท่วงท่าลีลาของกวางทองที่มาล่อลวงพระราม ความสวยงามท่วงท่าของพระรามที่แสดงอากัปกิริยาในการย่างเยื้องจับกวางทอง อีกทั้งการแสดงตอนนี้ยังสามารถให้ข้อคิดต่าง ๆ แก่ผู้ชม อาทิ ของสวยงามย่อมมีภัย หรืออย่าหลงเชื่อในสิ่งที่เห็นเพราะอาจจะไม่ใช่ความจริง

ครั้งนี้รามเกียรติ์สํานวนอีสานตอนพระรามตามกวาง ในรูปแบบคติความเชื่อ นําเสนอเป็นผลงานสร้างสรรค์การแสดงรามเกียรติ์สํานวนอีสาน ชุด "กวงคําล่อพระราม" เพื่อเป็นการส่งเสริมและสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้เยาวชนรุ่นหลังได้คํานึงถึงเรื่องคุณธรรม ความดีความชั่ว ตลอดจนคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ฮูปแต้มพระลัก-พระลาม" ที่วัดป่าเรไรย์ ตําบลดงบัง อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ จะส่งเสริมให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นําไปจัดการแสดงเพื่อช่วยกันส่งเสริมสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ในเวทีระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติสืบต่อไป

"โฮมฮูปฮอยชาวไทพวน"
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน โฮมฮูปฮอยชาวไทพวน เป็นผลงานการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมา การสร้างบ้านแปงเมืองของชาวไทพวน บ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

"ปทุมธานี รามัญญเทส เขตขันธ์มอญ"
มหาวิทยาลัยปทุมธานี

การแสดงชุด "ปทุมธานี รามัญญเทส เขตขันธ์มอญ" สะท้อนอัตลักษณ์ของชาวมอญที่มีความรักและหวงแหนในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งได้ถ่ายทอดมายังลูกหลานที่อาศัยอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งราชวงศ์จักรี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่สูญเสียเอกราช รามัญญเทส (ประเทศมอญ) ให้แก่พม่า หากแต่มิได้สูญสิ้นความเป็นมอญ ดังคำกล่าวของบรรพบุรุษ ที่พร่ำสอนแก่ลูกหลานชาวมอญมาช้านานว่า "แม้สิ้นชาติ แต่จะไม่สิ้นเชื้อ" จังหวัดปทุมธานี ถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน รามัญญเทสมอญ ที่ยังมีการสืบสายเชื้อชาติและวัฒนธรรมอันดีงามของชนชาติมอญตราบจนถึงปัจจุบัน

"เพลงทรงเครื่อง เรื่อง คุณนายดูดาย"
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

การแสดงเพลงทรงเครื่อง เรื่อง คุณนายดูดาย เป็นการแสดงเพลงพื้นบ้านร่วมสมัย เนื้อหาของเรื่องแสดงถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม สะท้อนถึงภาพแนวทางวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยร่วมกัน โดยเล่าเรื่องราวทั้งหมดผ่านเพลงพื้นบ้าน 2 ประเภทคือ เพลงเต้นกำ และเพลงอีแซว

"เซินแงงแข่งซ่าง"
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ที่ได้แรงบันดาลใจจากกิจกรรมการแข่งขันช้างว่ายน้ำ ในประเพณีแข่งขันเรือยาวของอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีช้างจากอำเภอสตึก รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมแข่งขัน สร้างความสนุกสนาน และเพิ่มสีสันให้กับประเพณีเป็นอย่างมาก รูปแบบการแข่งขัน ประกอบด้วย การแข่งขันช้างว่ายน้ำแข่งกับช้าง และช้างว่ายน้ำแข่งกับคน ปัจจุบันกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่โด่งดังอย่างมาก จัดขึ้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพียงแห่งเดียวในโลก

"พิธีกรรมหมอเหยา ฮักแพงเมืองรามราช : เดือนสามดอกฮังตี่ เดือนสี่ดอกฮังบาน”
มหาวิทยาลัยนครพนม

ชุดการแสดงสร้างสรรค์ร่วมสมัยของชาวเมืองรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นมาเพื่อบูชาผีบรรพบุรุษในช่วงเดือน ๓ - ๔ ของทุกปี ตามความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นเพื่อเป็นสิริมงคล และบูชาผีบรรพบุรุษให้ผู้ที่ป่วยหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว

พิธีกรรมเลี้ยงผีของรามราชมีอัตลักษณ์ที่เป็นเฉพาะท้องถิ่น ทั้งบทร้อง ท่าฟ้อนรำ รวมทั้งการบรรเลงดนตรี ที่มักจะเรียกลายบรรเลงดนตรีว่าทาง (เสมอ) มหาวิทยาลัยนครพนม เล็งเห็นคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้ศึกษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาเฉพาะพื้นถิ่นเมืองรามราช และสร้างสรรค์ชุดการแสดง “เดือนสามดอกฮังตี่ เดือนสี่ดอกฮังบาน” มานำเสนอในครั้งนี้

รัตนะจักรพรรดิราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สิริพัสตราสุราษฎร์ธานี เป็นการแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัย ถ่ายทอดเรื่องราวมรดกวัฒนธรรมด้านสิ่งทอของสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความเชื่อมโยงและส่งผ่านสืบเนื่องมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีวิชัย รวมทั้งถ่ายทอดการรังสรรค์ “ผ้ายกลายราชวัตรโคม” ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลวดลายผ้าอันเป็นมงคลที่ช่วยเสริมสิริมงคลแก่ผู้สวมใส่ ด้วยการสื่อสารผ่านการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์

กะชั้งไถนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การแสดงชุด "กะชั้งไถนา" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาการใช้ช้างไถนาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านนาเกียน ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่การใช้ช้างไถนาเพื่อเตรียมดิน การเตรียมกล้าข้าว การปลูกข้าว การทำขวัญช้าง การเกี่ยวข้าว การตีข้าว การพัดข้าว และการเก็บรวบรวมผลผลิต อีกทั้งสะท้อนถึงการแต่งกายของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านนาเกียน

ระบำสวัสดิรักษา
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ระบำสวัสดิรักษา แสดงถึงความเชื่อเรื่องของคนไทยสมัยก่อนเกี่ยวกับเรื่องสีที่ใช้ในการแต่งกายประจำวัน เพื่อให้นำมาซึ่งความเป็นศิริมงคลแก่ผู้สวมใส่ เนื้อร้องประพันธ์โดยคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล และมีอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง