guideubon

 

 

เปิดเบื้องหลัง ส่งต่อความ 'สะออน' ใน “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2567”

สะออนเด้--Proud-of-Isan-01.jpg

จบไปแล้วกับงาน "เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2567" (Isan Creative Festival 2024) หรือ ISANCF2024 ภายใต้ธีม 'สะออนเด้' Proud of Isan ผสมอีสาน ต่อยอด เติบโตจัโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา พร้อมด้วยความร่วมมือจากทั้ง 20 จังหวัดทั่วภาคอีสาน นักสร้างสรรค์กว่า 1,000 คน และผู้เข้าร่วมเทศกาลฯ กว่า 321,772 คน ตลอดทั้ง 9 วันของการจัดเทศกาลฯ ที่ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพของชาวอีสาน สู่การสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้อีสานเป็นพื้นที่ของ 'โอกาส' สำหรับกลุ่มนักสร้างสรรค์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการท้องถิ่น เชื่อมต่อสู่ภาคธุรกิจเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยปีนี้เทศกาลยังคงมุ่งเน้น 3 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในด้านบันเทิง อาหาร และงานหัตถกรรม ผ่านงานดีไซน์ งานศิลปะ งานคราฟต์ อาหารอีสานฟิวชัน และความบันเทิง พร้อมสร้างบรรยากาศของเมืองให้รองรับการจัดเทศกาลสร้างสรรค์ที่ทุก ๆ คน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

เปิดหลังม่าน ชมเบื้องหลังความ 'สะออน' สืบสานต่อยอด 'ดีเอ็นเอ' ของชาวอีสาน

สะออนเด้--Proud-of-Isan-02.jpg

วัด.หนัง...ผี กิจกรรมฉายหนังกลางแปลง ณ วัดอดุลยราม อีกหนึ่งไฮไลต์อุตสาหกรรมบันเทิงและภาพยนตร์ที่ชวนทุกคนหวนนึงถึงบรรยากาศการของการดูหนังกลางแปลงในอดีต ด้วยหนังผีสุดสยองและบรรยากาศของวัดตอนกลางคืน

กิจกรรมนี้มีจุดเริ่มต้นจากโครงการที่วางแผนไว้ตั้งแต่ปี 2563 แต่เนื่องด้วยการระบาดของโควิด-19 จึงถูกพับเก็บไปก่อน ในปีนี้ จักรพันธ์ ชัยศิริ ผู้ร่วมจัดกิจกรรม วัด.หนัง...ผี เผยว่าตนมีความรู้สึกดีใจที่ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ และมุ่งหวังให้ผู้คนได้ร่วมย้อนวันวานไปกับบรรยากาศของหนังกลางแปลง ด้วยความช่วยเหลือจากวัดและผู้คนในชุมชนเองที่ต่างก็รอคอยกิจกรรมในครั้งนี้ และช่วยกันกระจายข่าวเพื่อบอกต่อกันแบบปากต่อปาก

นอกจากนี้ จักรพันธ์ ชัยศิริ ได้แบ่งปันข้อคิดในการทำงานถึงคนทำหนัง และคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในการทำหนังให้นำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย เมื่อ 'คน' เคลื่อนไหว 'เมือง' ก็จะเคลื่อนไหว มีกิจกรรมให้คนสนุก เมืองก็จะไม่ตาย

สะออนเด้--Proud-of-Isan-03.jpg

ฏวเนตร สีชมภู (โน่/เซียนหรั่ง) แขกรับเชิญพิเศษในกิจกรรม วัด.หนัง...ผี กล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ด้วยแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่มากขึ้น และรูปแบบการรับชมสื่อที่เปลี่ยนไป ซึ่งผู้คนก็ยังคงคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ และความคลาสสิกของหนังกลางแปลงที่ไม่มีวันหายไปจากใจผู้คน กิจรรมนี้ ยังเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยดูหนังกลางแปลงมาก่อน ได้รับรู้และเข้าใจถึงบรรยากาศของหนังกลางแปลง

ภูวเนตร ได้กล่าวถึงคนทำหนังด้วยว่า ทุกวันนี้โอกาสในการทำหนังมีมากมาย ทุกคนสามารถทำหนังได้ด้วยตัวเองโดนไม่ต้องคำนึงถึงแต่คุณภาพที่ยอดเยี่ยมทัดเทียมอดีตเสมอไป ขอให้คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำหนัง หรือคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จงยึดมั่นและรักในอุดมการณ์ของการทำหนัง เพราะบริษัทของตนอย่าง ไทบ้าน สตูดิโอ เชื่อว่า ถ้าทำหนังด้วยความสนุก คนดูก็จะรับรู้ถึงความสนุกนั้นเช่นกัน

สะออนเด้--Proud-of-Isan-04.jpg

Better City Kungsadan

ถิรเดช อธิชาสกลชัย เจ้าของร้าน Lonely Boy ร้านกาแฟใจกลางย่านกังสดาล จัดแสดงนิทรรศการ "The Art of A(Loneliness)" ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับนักสร้างสรรค์อีก 5 ท่าน ได้แก่ วาดน้อง, NHAMM, AVEGEE, TURRY HARDZ และ SIRI X Clay i NAMIA Studio นิทรรศการที่สำรวจความหลากหลายของมิติความเหงาและการแสดงออกของผู้คนในสังคมเมือง ผ่านงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ

กิจกรรม Better City Kungsadan เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยพัฒนาผู้ประกอบร้านกาแฟและเปิดโอกาสให้ถิรเดชได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบที่ห่างหายไปนาน นำมาใช้ออกแบบนิทรรศการในครั้งนี้อีกครั้ง ผ่านการสำรวจความเหงา ตั้งคำถาม และกลับมาย้อนมองดูตนเองว่า ความเหงานั้นเกิดจากอะไรกันแน่

"ที่จริงตอนที่มาลงหลักปักฐานที่นี่ก็เห็นบรรยากาศแถวนี้แล้วนึกถึงซีรีส์ Gossip Girl บรรยากาศมันเหมือน Upper East Side ที่นิวยอร์ก เปรียบเทียบกับที่นี่ คิดว่า มันก็มี potential ที่จะทำให้เป็นแบบนั้นได้ครับ"

สะออนเด้--Proud-of-Isan-05.jpg

แกรม - สะ - ดาร Performance Art

แกรม - สะ - ดาร ผลงานศิลปะรูปแบบ Performace Art ครั้งแรกของเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ที่ถูกจัดขึ้นโดยกลุ่มแสดงนามว่า "Young Perform" ศิลปีนหน้าใหม่ที่นำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำในย่านใหญ่ใกล้มหาวิทยาลัยอย่างกังสดาล ผ่านการใช้ Performance และ เสื้อผ้า Fast Fasion ที่เปิดรอบแสดงตั้งแต่วันที่ 1,3 และ 5 กรกฎาคม 2567 ณ สวนสาธารณะบึงหนองแวงตราชูย่านกังสดาล

กลุ่ม Young Perform คือกลุ่มศิลปีนรุ่นใหม่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะการแสดงที่มีความสนใจในเรื่อง Physical Theatre รวมตัวคิดค้น เรียบเรียง และทำการแสดงด้วยตนเอง และได้เข้าร่วมเทศกาลในปีนี้ผ่านการทำงานร่วมกันกับ Creator in District ที่มีความต้องการอยากผลักดันศิลปินหน้าใหม่ ให้ได้ทำงานและแสดงผลงานศิลปะมากขึ้น

สะออนเด้--Proud-of-Isan-06.jpg

โดยกลุ่มนักแสดง Young Perform ได้แบ่งปันถึง จุดเริ่มต้นของการแสดงครั้งนี้ว่า พวกเขานั้น ได้ลงพื้นที่สำรวจในย่านกังสดาล และเห็นความแตกต่างในวิถีชวิตของคนในชุมชนซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และได้เล็งเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในย่านนี้ จึงเลือกสื่อเชิงสัญลักษณ์ผ่านเสื้อผ้า Fast Fasion เป็นตัวเล่าเรื่อง ผสมผสานกับการแสดงผ่านท่วงท่าที่สื่อความหมายและอารมณ์ของผู้แสดงเอง

นภัสสร คำกันหา หนึ่งในผู้แสดงจากทีม Young Per form ได้แบ่งปั่นมุมมองของการพัฒนาการแสดงในลักษณะของ Performance Art ว่า การแสดงแบบ Performance Art เป็นการแสดงที่สามารถพัฒนาไปได้เรื่อย ๆ ตามประเด็นที่เราต้องการนำเสนอ แม้กระทั่งประเด็นที่ยังไม่ถูกแก้ไขในสังคมของพื้นที่นั้น ๆ หรือในสังคมใหญ่ๆ ก็เช่นกัน และในการแสดงแต่ละครั้ง ผู้แสดงเองก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการแสดงให้สามารถสื่อสารประเด็นต่าง ๆ ไปถึงผู้ชมได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ หนึ่งในผู้แสดงเผยว่ การแสดงแต่ละรอบนั้น เปรียบเหมือนการทดลองงานไปเรื่อย ๆ และต้องพัฒนากันตลอด การแสดงแต่ละรอบจึงแตกต่างกันออกไปตามสิ่งที่ผู้แสดงได้เรียนรู้จากการแสดงก่อนหน้านี้

นภัสสร ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "อยากให้มีงานแบบนี้เยอะ ๆ เพราะงาน performace ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงไหน เราก็สามารถทำการแสดงได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงละครหรืออาคาร แต่ต้องขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราจะเล่าในสังคม หรือว่า Material ที่เรามีอยู่ เช่น ร่างกายของเรา ที่ทุกคนสามารถทำPerformace Art ได้หมดเลย"

ถึงแม้เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2567 จะจบลง แต่การส่งเสริม 'ดีเอ็นเอ' อีสานให้ทุกคนมา 'สะออน' จะยังคงดำเนินต่อไป ด้วยความร่วมมือของ สำนักงานส่งเสริมเศรศฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ภาครัฐ ภาคเอกชน นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งต่อความเป็นตาสะออนของดีอีสานให้คนทั่วไปสะออน คนอีสานภูมิใจ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.Isancreativefestival.com
และ Facebook/Instagram: Isancreativefestival

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511