guideubon

 

กุฏิพระอริยวงศาจารย์ โบราณสถาน สร้างจากไม้ที่ใช้ขวานถากทุกแผ่น

กุฏิแดง-อริยวงศาจารย์-วัดป่าน้อย-03.jpg

จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเมืองเก่าแก่มีอายุมากกว่า 200 ปี ร่อยรอยโบราณสถานยังมีปรากฎให้เห็นอยู่หลายแห่ง บ้างก็ยังคงสภาพได้สวยงาม บ้างก็ยังรอการบูรณะปรับปรุง อย่างล่าสุด พระเดชพระคุณ พระราชธีราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ได้ทำการบูณรณะซ่อมแซม กุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือที่ชาวบ้านในสมัยก่อนนิยมเรียกว่า "กุฏิแดง" ให้มีความสวยงามขึ้นอีกครั้ง โดยคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ส่วนสำคัญ หัวใจหลักคือ กุฏิแดงหลังนี้ เป็นกุฏิเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 3 สถาปัตยกรรมไทยผสมล้านข้าง สร้างจากไม้ที่ใช้ขวานถากทุกแผ่นในยุคที่ยังไม่มีเลื่อย

กุฏิแดง-อริยวงศาจารย์-วัดป่าน้อย-01.jpg

กุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า กุฏิแดง เดิมเคยเป็นที่จำพรรษาของท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาญาณวิมลอุบลคณาภิบาลสังฆ ปาโมกข์ (สุ้ย) เจ้าคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2371 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

กุฏิแดง-อริยวงศาจารย์-วัดป่าน้อย-02.jpg

กุฏิแดงแห่งนี้ เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมไทย และมีสีสันงดงาม เป็นอาคารสร้างด้วยไม้ชั้นเดียว ตั้งเสา ยกพื้นสูง ตีฝาผนังแบบเรือนไม้ฝาปะกน ใช้เทคนิคการเข้าเดือยไม้แบบโบราณ หลังคาแต่เดิมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด และเปลี่ยนมาใช้กระเบื้องมุงในภายหลัง

ภายในกุฏิแดง แบ่งเป็น 4 ห้อง มีห้องโถงใหญ่ 2 ห้อง ห้องเล็กด้านข้างอีก 2 ห้อง ประดับลูกกรงไม้ขนาดเล็กที่ขอบหน้าต่างและระเบียงด้านหน้า หน้าต่างระหว่างห้องด้านทิศเหนือมีการเขียนรูปเทวดาประดับไว้ 2 บาน และลายพันธุ์พฤกษาอีก 2 บาน

กุฏิแดง-อริยวงศาจารย์-วัดป่าน้อย-04.jpg

พ.ศ.2556 กุฏิแดงได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณ ค่าของจังหวัดอุบลราชธานีสืบไป